ว่านเพชรแดง
เพชรแดง Curcuma sp.
ลักษณะ ใบเหมือนกระชาย สีเขียวเท่ากันทั้งหน้าใบและหลังใบ ต้นแดง ก้านแดง ร่องกลางใบแดง โคนใบสีเหลื่อมๆ หัวเป็นไหล ปลายแหลมดังดินสอ เนื้อในสีนวล ดอกดังดอกกระเจียวเล็กๆ สีชมพูเกษรเหลือง เป็นว่านที่สวยมาก
สรรพคุณ ทางเมตตามหานิยม ใช้ในทางเสน่ห์เมตตามหานิยม เป็นศิริมงคล
หมายเหตุ ว่านนี้ น่าจะเป็นต้นเดียวกับ ว่านแสงทอง ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก
คุณณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พบในตำราของ
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 43
ว่านเพชรกลับ
เพชรกลับ Boesenbergia thorellii [Gagnep.]
ลักษณะ ต้นและใบเหมือนกระทือผี ต้นและใบแดง ออกดอกที่ปลายยอด มีลูกเป็นพวงๆ รากย้อนกลับแทงขึ้นบนดิน
สรรพคุณ ทางคุ้มครอง และทางคงกระพันแคล้วคลาด เอาหัวนำติดตัว มีอานุภาพคงกระพันชาตรี เมื่อออกนอกบ้านถึงแม้จะเผชิญต่อภัยอันตรายต่างๆ ในที่สุดจะต้องกลับมาถึงบ้านโดยปลอดภัย จะไม่เกิดมีการตายนอกบ้านได้เลย และมีอานุภาพในทางแก้อาถรรพ์ทางไสยเวทย์ แก้การกระทำย่ำยีทางไสยศาสตร์ทุกชนิด ปลูกไว้กับบ้านเรือนดีนัก
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 6
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 85
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 19
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 44-45
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 28
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 23
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 272
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 7
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 73
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 997
ว่านพุทธเกตุ
พุทธเกตุ Curcuma sp.
ลักษณะ ใบคล้ายหมากผู้หมากเมีย สีเขียวล้วน หัวกลมเรียวและมัน ดังเกตุพระ
สรรพคุณ ทางเมตตามหานิยม ปลูกไว้กับบ้านเป็นศิริมงคล
พบในตำราของ
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 64
ว่านพืด
พืด Leptocarpus disjunctus Mast.
ลักษณะ ใบเป็นทางๆ เล็กจิ๋ว หัวเหมือนกระเทียม ติดกันเป็นพืดยิ่งกว่ากระเทียม
สรรพคุณ เป็นศิริมงคล เมื่อมีว่านนี้ปลูกไว้ในบ้านหรือมีหัวว่านติดตัวอยู่ จะนำลาภผลมาให้
ทางสมุนไพร ใช้ฝนกับน้ำมะนาวแก้พิษฝีลำมะลอก พิษหัวเดือน หัวดำต่างๆ ได้อีกด้วย
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็นหอมที่ขนาดเล็กมาก เป็นผักพื้นบ้านทางภาคใต้ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกว่า ต้นแส้ นิยมนำใบมาผัดเป็นอาหาร ว่านต้นนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณอารีย์ กาละ จังหวัดนครศรีธรรมราช
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 134
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 271
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 992-993