ว่านพระยาอังกุลี
พระยาอังกุลี Goodyera viridflora [Blume.]
ลักษณะ ต้นดังต้นหมากผู้หมากเมีย แต่สูงเพียง 3-4 นิ้ว สูงอย่างมากไม่เกิน 5 นิ้ว ใบเหมือนใบน้ำเต้า เมื่อต้นเล็กๆ ใบมีสีแดง เมื่อต้นโตใบจะมีสีเขียวปนแดง มียาง เมื่อเราหยิกดูจะมียางออกมาสีดำ
สรรพคุณ ทางเล่นแร่แปรธาตุ ใช้เป็นยาฆ่าปรอทให้ตาย โดยเอาปรอทใส่ในฝ่ามือ แล้วเอายางสีดำนั้นใส่ตามลงไป กวนให้เข้ากันดี ปรอทนั้นจะค่อยๆ แข็งตัวเป็นก้อน จนแข็งกว่าสภาพเดิมของปรอท ใช้ในทางคงกระพัน และทาตามตัวจะมีแสงเป็นกายสิทธิ์ในเวลากลางคืนป้องกันภูติผีปีศาจได้
หมายเหตุ ว่านนี้เป็นคนละต้นกับ ว่านกบ และ ว่านอึ่ง ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็น เอื้องดินดอกหม่น
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 26-27
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 83
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 31
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 82 เรียก ว่านพระยาอังคุลี
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 19
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 270
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 11
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 985 เรียก ว่านพระยาอังคุลี
ว่านพระยาหัวศึก ต้นที่ 2
2. พระยาหัวศึก Curcuma comosa Roxb.
ลักษณะ ต้นคล้ายขมิ้นอ้อย หัวใหญ่ขนาดหัวเผือก เนื้อในหัวสีขาว รสร้อนฉุนจัด
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ใช้ทางเหนียวคงทนศาสตราวุธ ใช้กินเป็นคงกระพัน ก่อนกินเสกด้วย “นะโมพุทธายะ นะมะพะธะ จะพะกะสะ” 3 คาบ
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้เป็นคนละชนิดกับ ว่านการบูรเลือด เพราะว่านการบูรเลือดมีสรรพคุณทางสมุนไพรอย่างเดียว แต่ ว่านพระยาหัวศึก ชนิดนี้ มีสรรพคุณทางคงกระพันอย่างเดียว ซึ่งว่านทั้ง 2 ชนิด มีสรรพคุณต่างกัน จึงไม่น่าจะเป็นว่านชนิดเดียวกัน ซึ่งคุณลุงเกษม อินทร์ชัยญะ กล่าวว่า ว่านพระยาหัวศึก ต้นจะมีสีแดงคล้ำ
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 32 เรียก ว่านพระยาหัวศึก ชนิดที่1
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 37 ว่านพระยาหัวศึก ชนิดที่1
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 18-19 เรียก ว่านพระยาหัวศึก ชนิดที่2
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 42 เรียก ว่านพระยาหัวศึก ชนิดที่2
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 268-269 เรียก ว่านพระยาหัวศึกชนิดที่1
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 13
ว่านพระยาหัวศึก ต้นที่ 1
พระยาหัวศึก มี 2 แบบ
1. พระยาหัวศึก Alocasia sp.
ลักษณะ ต้นดังต้นกระดาษแดง หัวดังหัวเผือกกลม คันจัด มีหน่อแตกออกเหมือนไหลบอน
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ใช้ทางเหนียวคงทนศาสตราวุธ ว่านชนิดนี้เวลาขุดต้องมีเครื่องมาพลี ขุดวันอังคาร เครื่องพลีมี กระทง 5 กระทง ใส่หมากพลู 1 คำ ใส่ข้าวคลุกกันกับน้ำตาลหม้อ วางพลีที่ทางสี่แยก
หมายเหตุ ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณอารีย์ กาละ จังหวัดนครศรีธรรมราช
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 32 เรียก ว่านพระยาหัวศึก ชนิดที่2
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 37 ว่านพระยาหัวศึก ชนิดที่2
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 18-19 เรียก ว่านพระยาหัวศึก ชนิดที่1
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 42 เรียก ว่านพระยาหัวศึก ชนิดที่1
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 268-269
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 13-14 เรียก ว่านพระยาหัวศึกอีกชนิด
พระยาหัวเดียว
พระยาหัวเดียว Zephyranthes citrine Baker.
ลักษณะ ใบเหมือนใบกุยช่าย แต่เล็กกว่าค่อนข้างกลม หัวเหมือนหัวแห้วจีน ปลูกไว้นานปีก็ไม่มีหน่อ หรือแขนงงอกขยายพันธุ์ออกมาอีกเลย ใช้เมล็ดที่อยู่ปลายใบมาเพาะจึงจะเกิดเป็นต้นใหม่ได้
สรรพคุณ ทางคงกระพัน มีอานุภาพคงกระพันชาตรีวิเศษนัก กินว่านนี้เข้าไปถึงสามหัว เวลาตายแล้วเผาไฟไม่ไหม้ เมื่อยังไม่ตายกินว่านเข้าไปแล้วสามารถเดินในหนามนอนบนตะปู คงทนต่อคมอาวุธทุกชนิด ถ้าเอาหัวว่านฝนทามือและเท้า ชกต่อยแตะถูกผู้ใดจะเจ็บปวดยิ่งนัก
หมายเหตุ ว่านนี้บางตำราเขียนว่า ว่านพญาหัวเดียว
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 81-82
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 6-7
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 276
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 106 เรียก ว่านพญาหัวเดียว
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 986