ว่านพระตะบะ
พระตะบะ Curcuma sp.
ลักษณะ ต้นและใบคล้ายขมิ้นอ้อยแต่ใหญ่กว่า ต้นและใบสีเขียว หลังใบมีคราบคล้ายกับใบลิ้นเสือ หัวเหมือนกับหัวขมิ้นอ้อย เนื้อในสีขาวรสฉุนจัด มีธาตุปรอท มีกิ่งหน่อแตกยาวเกี่ยวกันอยู่
สรรพคุณ ทางคุ้มครอง มีอานุภาพมหัศจรรย์วิเศษสุด ภูติผีปีศาจที่ร้ายกาจทุกชนิดเกรงกลัวยิ่งนัก ปลูกไว้ในบ้าน คุณไสยเสนียดจัญไร พรายน้ำพรายอากาศไม่กล้าเข้ามาใกล้ได้ หลีกหนีสิ้น ใช้หัวทิ่มแทงคนผีเข้าเจ้าสิง หนีออกจากร่างคนทันที
ทางสมุนไพร เอาหัวว่านแช่น้ำมนต์พ่นแก้คุณไสยทุกชนิด และให้คนท้องกินคลอดบุตรง่าย เอาหัวว่านผูกติดกับเปล เด็กนอนไม่สะดุ้ง ว่านนี้ไม่เป็นอันตรายแก่พระภูมิเจ้าที่ เอาเข้าพิธีสวดพานยักษ์ ว่านนี้จะมีความศักดิ์สิทธิ์มีฤทธานุภาพมากยิ่งขึ้นวิเศษนัก
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้เรียกหลายชื่อ คือ ว่านพะตะบะ ว่านพระยาตะบะ ว่านพระตบะ
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 38-40
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 22
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 72-73
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 104-105
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 36-37 เรียก ว่านพะตะบะ
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 232-234
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 20-22
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 61
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 990-991 เรียก ว่านพระยาตะบะ
ว่านพระฉิม ต้นที่ 2
2. พระฉิม (ต้น) Euphobia sessiliflora Roxb.
ลักษณะ เป็นไม้ลงหัวขนาดเล็ก ใบกลมโตขนาดใบพุทรา ทั้งใบ ก้าน ต้น และหัวมียางมาก
สรรพคุณ ทางสมุนไพร หัวเป็นยากัดเสมหะและโลหิตภายใน ยางมีพิษเช่นเดียวกับยางสลัดได จะต้องทำให้ฤทธิ์ยาอ่อนลงก่อน โดยนึ่งหรือตุ๋นเสียก่อน
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ ยางเข้าค่า หัวเข้าค่า จิดอยด่วน
พบในตำราของ
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 231 เรียก ว่านพระฉิม (ต้น)
ว่านพระฉิม ต้นที่ 1
มี 2 แบบ
1. พระฉิม (เถา) Dioscorea bulbifera L.
ลักษณะ ใบและเถา เหมือนมันมือเสือ มีหัวตามข้อ หัวมีปุ่มขรุขระดังหัวกลิ้งกลางดง แต่จะขรุขระกว่า
สรรพคุณ ทางเมตตามหานิยม มีอานุภาพเป็นศิริมงคล ทำให้เกิดโชคลาภ เป็นเสน่ห์เมตตามหานิยมวิเศษนัก ปลูกไว้กับบ้านทำให้มีความเจริญรุ่งเรือง กินลูกว่านหรือนำติดตัวไปด้วย ทำให้เกิดมีเสน่ห์เมตตามหานิยม และคงกระพันชาตรี เมื่อจะใช้ว่านพระฉิมเสกด้วยคาถาหัวใจพระสิวลีสามคาบ “นาชาลิติฯ” จึงจะมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์มากยิ่งขึ้น
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ ว่านพระฉิมพาลี ว่านพระฉิมพลี น่าจะเป็นต้นเดียวกับ ว่านคางคก(เถา)
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 45
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 84
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 21-22, หน้า 39 (ซ้ำ)
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 71-72
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 43 เรียก ว่านพระฉิมพาลี
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 230 เรียก ว่านพระฉิม (เถา)
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 19
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 982-983
ว่านพระเจ้าห้าพระองค์ ต้นที่ 2
2. พระเจ้าห้าพระองค์ (ต้น) Dracontomelor dao [Blanco] Merr. & Rolfe
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบแบบใบมะยมหรือใบสะเดา เนื้อไม้มีกลิ่นฉุน ดอกเป็นช่อเล็กๆ สีขาวอมเขียว ผลกลมสีเหลือง เมล็ดกลมแบนหมือนลูกจันทน์ ด้านหลังเป็นรูปดอกจันทน์ ด้านหน้าแบ่งออกเป็น 5 ช่อง แต่ละช่องมีรูปร่างคล้ายพระ เนื้อในกินได้ รสมันๆ คล้ายเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
สรรพคุณ ทางคุ้มครอง ปลูกไว้กับบ้านช่วยคุ้มครองภัยให้แก่คนในบ้าน เมล็ดใช้พกติดตัวใช้ป้องกันภูติผีร้ายทั้งปวง
ทางสมุนไพร เนื้อไม้ต้มกินเป็นยาถอนพิษยาเบื่อยาเมา หรือแก้เมาเห็ดก็ได้ หรือต้มกินเป็นยาถอนพิษไข้ผิดสำแดงก็ได้
ทางคงกระพัน นอกจากนั้นเนื้อไม้ยังใช้เข้าตำรับยาคงกระพันตลอดชีพอีกด้วย
พบในตำราของ
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 554 บรรทัดที่ 2-5