พระเจ้าห้าพระองค์ ต้นที่ 1
พระเจ้าห้าพระองค์ มี 2 แบบ
1. พระเจ้าห้าพระองค์ (เถา) Cissus sp.
ลักษณะ ว่านนี้มีต้นเป็นเถาคล้ายกับต้นเถาบวบขม แต่เถามีสีแดงคล้ำคล้ายเถาคันแดง ยอดก็มีสีแดง ใบมีสีเขียวแยกออกเป็นแฉกๆ 5 แฉก หัวคล้ายกับหัวเผือกแต่เล็กกว่านิดหน่อย เนื้อในสีขาวปนชมพูน้อยๆ
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ใช้ทางทางอยู่คงกระพันและติดตัวไปไหนใช้เสี่ยงทายเมื่อถึงคราวอับจนก็จะสามารถแก้ไขข้อขัดข้องได้
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 45
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 62
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 84
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 20
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 71
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 43-44
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 39
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 229
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 19
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 41
ว่านพระจันทร์
พระจันทร์ Curcuma sp.
ลักษณะ ต้นและใบเหมือนขมิ้น ใบอ่อนสีแดง เมื่อต้นแก่แล้วจะกลายเป็นสีเขียว ดอกคล้ายบวบขม ออกดอกในเดือนอ้าย หัวเหมือนหัวหอมเป็นสีชมพู
สรรพคุณ ทางคุ้มครอง และทางเมตตามหานิยม ปลูกไว้กับบ้านป้องกันภัยพิบัติต่างๆ เป็นเสน่ห์เมตตามหานิยม เป็นศิริมงคลแก่ผู้ปลูกไว้ ว่านนี้มีเทวดารักษา เมื่อถึง 8 ค่ำ 15 ค่ำ ทำการบูชาทุกครั้งจะมีความเจริญรุ่งเรือง หรือเอาหัวว่านนี้นำติดตัวไปก็ใช้ได้ ให้อธิษฐานนึกเอาตามความปรารถนา ควรปลูกไว้คู่กับว่านพระอาทิตย์
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็นต้นเดียวกับ ว่านท้าวชมพู และ ว่านสบู่ทบ
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 3
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 22-23
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 53-54
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 83
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 36
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 38-40
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 21
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 227-228
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 17-18
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 984
พญาการเวก
พญาการเวก Amomum xanthioides Wall.
ลักษณะ ต้น ใบ หัว ดังต้นข่า แต่หัวเล็กกว่าข่าเล็กน้อย ลำต้นจะอวบกว่าข่า เป็นมันทั้งต้นและใบ สีอ่อนกว่าข่า แต่มีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นว่านสาวหลง
สรรพคุณ ทางเสน่ห์เมตตามหานิยม เป็นว่านชั้นเดียวกับว่านสาวหลง ใช้ในทางเสน่ห์เมตตามหานิยม ปลูกไว้กับบ้านหรือร้านค้าเป็นศิริมงคลยิ่งนัก
หมายเหตุ ว่านนี้เป็นสมุนไพร เรียกว่า เร่วใหญ่
พบในตำราของ
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 32
ว่านพังพอนไฟ
พังพอนไฟ Hyacinthus sp.
ลักษณะ ต้นและใบเหมือนกุยช่าย หัวเหมือนหัวหอม คล้ายกับว่านหอมดำ แต่หัวใหญ่กว่า
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เป็นยาแก้พิษสัตว์กัดทุกชนิด เอาหัวโขลกผสมกับสุรากิน และเอากากพอกแผลที่ถูกสัตว์กัดต่อย ไม่มีสุราใช้น้ำแทนก็ได้ (บางตำราบอก แก้พิษงูได้ด้วย สรรพคุณตามชื่อ พังพอนไฟ)
หมายเหตุ ผู้เขียนคิดว่าว่านนี้น่าจะเป็นต้นเดียวกับ พระยาลิ้นงู ที่หัวใหญ่ๆ อาจจะใหญ่ถึงขนาดกำปั้นได้
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 21-22, หน้า 134
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 59-60
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 223
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 992