งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

ชนิดว่าน : นพคุณ

แจกแจงชนิดของว่านตามการเรียบเรียงของ อ.นพคุณ คุมา

Page 59 of 89« First...102030...5758596061...7080...Last »

ว่านนาคราช ต้นที่ 1

1. นาคราช   Adiantum  cauddatum  L.

ลักษณะ  ต้นเหมือนต้นพลับพลึง  หลังใบเป็นเกล็ดเหมือนนาคราช  ปลายใบจรดถึงดินจะเกิดเป็นรากและเกิดเป็นต้นขึ้นมาอีก  เป็นลักษณะดังนี้  ขยายต้นออกไปรอบต้นเดิมเป็นอันมาก

สรรพคุณ  ทางเล่นแร่แปรธาตุ  ใช้หัวรากใบตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำว่านและกากว่านแช่ปรอทฆ่าปรอทตาย  ปรอทตายเป็นกายสิทธิ์จะแข็งตัวกลมกลึงใสขาวเป็นวาวรัศมีเหมือนปรอทที่ยังฆ่าไม่ตาย  ปรอทกายสิทธิ์มีอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ทางคงกระพันชาตรีเหมือนกับเหล็กไหล  นำติดตัวไปเดินทางไกลไม่เมื่อย  ใส่ปากอมไม่กระหายน้ำ

หมายเหตุ  ว่านนี้มีหลายชื่อ  คือ ว่านนาคลดา  ว่านพระยานาค  ว่านพระยานาคราช  ว่านชนิดนี้น่าจะเป็น  เฟิร์นก้านดำหางนาคบก

พบในตำราของ

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  26  เรียก  ว่านนาคลดา,  หน้า  45  (ซ้ำ)

ล. มหาจันทร์.  คู่มือนักเล่นว่าน.  2480,  หน้า  81

ชัยมงคล  อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ.  2503,  หน้า  22,

หน้า 31-32  เรียก  ว่านนาคลดา (ซ้ำ)

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  123-124

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  45,  หน้า  108  เรียก  ว่านนาคลดา  (ซ้ำ)

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  178

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  45-46

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  977

ว่านหนังแห้ง

หนังแห้ง   Curcuma  sp.

ลักษณะ  ต้น  ใบ  คล้ายขมิ้น  โคนต้นและกลางร่องใบ  มีสีน้ำตาลไหม้แต่ไม่ตลอด  เมื่อตัดหรือหักหัวออก  จะมองเห็นตรงกลางหัวว่านเป็นวงกลมสีเหลือง  วงนอกสีขาว  มีรสขมขื่นซ่า

สรรพคุณ  ทางคงกระพันชาตรี  ใช้กินหรือติดตัวคงต่ออาวุธในสงครามทุกชนิด   เขี้ยวงาต่างๆ

หมายเหตุ  ว่านมีอีกชื่อหนึ่งว่า  ว่านเฉลิมโลก   ว่านชนิดนี้  น่าจะเป็นชนิดเดียวกับ  ว่านสบู่หนังแห้ง   ภาพที่สองนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก  คุณณรงค์ศักดิ์   ค้านอธรรม  จังหวัดกรุงเทพมหานคร

พบในตำราของ

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  52-53

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  175

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  978

ว่านนพมาศ

นพมาศ    Curcuma  sp.

ลักษณะ  ต้น  ใบ  หัว  เหมือนขมิ้น  ต้นเขียว  ใบเขียว  กลางใบแดงสดตลอดใบ  หัวดังขมิ้นแต่เล็ก  เนื้อในหัวสีนวล  มีกลิ่นหอมเล็กน้อย

สรรพคุณ  ทางเมตตามหานิยม  และทางคุ้มครอง  เป็นว่านศิริมงคล  เมตตามหานิยมอย่างสำคัญ  และป้องกันเสนียดจัญไร  ปลูกไว้กับบ้านคุ้มภัย  อยู่เย็นเป็นสุขดีนักแล

หมายเหตุ  ว่านนี้น่าจะเป็นต้นเดียวกับ  ว่านจันทโครบ

พบในตำราของ

สมาน   คัมภีร์  และ  ทัศนา   ทัศนมิตร.  กบิลว่าน 108.  2516,  หน้า  77

ว่านนกยูง ต้นที่ 2

นกยูง   Helminthostachy  zeylanica  [L.]  Hook.

ลักษณะ  เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งขึ้นจากดิน  เหง้าเรียวนอน  ใบเดี่ยวอยู่ปลายลำ  ต้นใหญ่กว้างและแฉกลึกเป็นหลายแฉก  ขนาดเท่าฝ่ามือหรือกว่านั้น  ดอกเขียวๆ เหลืองๆเป็นช่อเรียวยาว  อยู่ปลายลำต้น

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร  เหง้าใช้แก้พิษงู  ใช้เคี้ยวกับหมากเป็นยาบำรุง  ใช้เป็นยาแก้ไข้  แก้กามโรค  รักษาบิด  เยื่อจมูกอักเสบ  วัณโรคในระยะแรก  โรคไอกรน

หมายเหตุ  ว่านนี้มีหลายชื่อ  คือ ว่านพระยานกยูง  ผักตีนกวาง  กูดซัง  กูดจ้อง  ผักนกยูง  ผักตีนฮุ้ง  ตีนนกยูง

พบในตำราของ

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  254   เรียก   ว่านพระยานกยูง

Page 59 of 89« First...102030...5758596061...7080...Last »

วงศ์ของว่าน :