งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

ชนิดว่าน : นพคุณ

แจกแจงชนิดของว่านตามการเรียบเรียงของ อ.นพคุณ คุมา

Page 78 of 89« First...102030...7677787980...Last »

ว่านคันธะมาลาขาว

ว่านคันธะมาลาขาว Curcuma sp.

ลักษณะ ต้นและใบสีเขียว เหมือนกับขมิ้นอ้อย แต่กลางใบสีไม่แดง หัวกลมป้อมดุจว่านนางคำ เนื้อในสีขาว รสฉุนร้อนจัด
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ดองกับสุรากินเป็นยาชักมดลูก แก้ริดสีดวงทวารและไส้เลื่อน ฝนกับสุราอมแก้เจ็บคอ และแก้ฝีคันธะมาลา ฝนกับน้ำปูนใสกินแก้ปวดท้อง ท้องเสีย กินแก้พิษงูกัด
ทางคงกระพัน ใช้กินอยู่คงกระพันชาตรี
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 31
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 37
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 40
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 99-100
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 38, 52 (ซ้ำ)
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 111
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 57-58
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 955

ว่านคันธะมาลา

ว่านคันธะมาลา Curcuma sp.

ลักษณะ ต้น ใบ และก้าน คล้ายขมิ้นอ้อย แต่หัวยาว เหมือนกับว่านม้า มีสีเขียว กลางใบสีแดงเข้ม ออกดอกมีกลีบซ้อนเป็นชั้นๆ สีม่วงขาว
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใช้หัวฝนทาแก้เคล็ดขัดยอกฟกบวมได้ดี ฝนกับสุราหรือน้ำส้มสายชู ชุบสำลีอมไว้ข้างแก้ม กลืนทีละน้อย แก้ต่อมทอมซิลอักเสบ แก้ฝีในคอได้ดี แก้เจ็บคอได้ ใช้ตำพอกฝีคันธะมาลา ฝีมะคำร้อย และฝีทุกชนิดได้ผล ทางคงกระพัน ใช้กินเป็นคงกระพันชาตรีได้อีกด้วย
หมายเหตุ ว่านนี้มีอีกหลายชื่อ คือ ว่านนางคำขาว ว่านขาว ว่านนี้ น่าจะเป็นชนิดเดียวกับ ว่านฤาษี
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 40
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 52
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 114
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 29
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 955

ว่านคงคา

ว่านคงคา Abalmoschus moschatus Medic.

ลักษณะ ต้นเหมือนต้นสามสิบ รากเหมือนรากละหุ่ง ใบเหมือนละหุ่ง หัวเป็นแง่ง ยางขาวเหมือนน้ำนม
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใช้ดับพิษร้อนทั้งภายใน และภายนอกร่างกายได้ดีมาก ยางที่เหมือนน้ำนมนั้นเป็นของวิเศษ ให้เอามาผสมกับน้ำร้อนหรือสุรากินเถิดประเสริฐดีนัก เมื่อกินเข้าไปใหม่ๆ จะรู้สึกเหมือนไส้จะตีบเพราะฤทธิ์ยาของยางนั้นแสดง ใช้เป็นยาอายุวัฒนะปราศจากโรคทั้งปวง
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็น โสมชบา ชบาไพร
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 8
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 25
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 78
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 18
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 129
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 109

ว่านเขียด

ว่านเขียด Typhonium sp.

ลักษณะ ใบเหมือนใบหน้าวัวชนิดเล็ก แต่สีไม่แดง ใบเป็นกาบออกมาเหมือนว่านนางกวัก
สรรพคุณ เอาหัวมาเสก “นะโมพุทธายะฯ” 7 จบ พร้อมทั้ง “อิติปิโส” 3 ห้อง อีก 3จบ
ทางเมตตามหานิยม ปลูกไว้กับบ้านเป็นศิริมงคล บันดาลให้มีโชคลาภอยู่เสมอ
ทางคงกระพัน ใช้กินอยู่ยงคงกระพันชาตรี
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ไม่ใช่กล้วยไม้ดินที่ชื่อ เหลืองพิศมร (อีสานเรียก ว่านดอกทองตัวเมีย ว่านโยนี)อย่างที่เล่นกันในปัจจุบัน คุณณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม กล่าวว่า ว่านนี้ลักษณะเป็นตระกูลตะพิดเล็กชนิดหนึ่ง
พบในตำราของ
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 78
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 43
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 108
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 954

Page 78 of 89« First...102030...7677787980...Last »

วงศ์ของว่าน :