ว่านเทพประสิทธิ์
ว่านเทพประสิทธิ์ Curcuma sp.
ลักษณะ ลำต้น ใบ หัว คล้ายขมิ้นอ้อย ลำต้น และใบเขียว หลังใบเป็นละอองขนคาย เนื้อในหัวมีสีขาว รสฉุนร้อน
สรรพคุณ ทางสมุนไพร แก้ลม จุก เสียด แน่น ทานกับสุรา หรือน้ำสุก
พบในตำราของ
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 8-9
ว่านทิพยเนตร
ว่านทิพยเนตร Kaempferia rotunda L.
ลักษณะ ต้นคล้ายกับต้นกระชาย ใบคล้ายขมิ้นแต่เล็กกว่า ใบมีลายเป็นจุดๆ คล้ายกับไข่ปลาสีขาว ตรงกลางใบต่อก้านขึ้นมามีสีม่วงๆ ท้องใบขาวนวล ต้นมีสีแดงคล้ำเล็กน้อย หัวคล้ายหัวกระชาย มีตุ่มงอกออกมาเป็นชั้นๆ คล้ายกับขิง เนื้อสีขาวมีพรายปรอทเป็นรัศมี
สรรพคุณ ทางคุ้มครอง มีอานุภาพทางมหาอำนาจ ปลูกไว้กับบ้านเป็นมหาอำนาจ คนเกรงกลัว ป้องกันโจรภัย
ทางสมุนไพร หั่นหัวเป็นแว่นแช่น้ำฝนหยอดตา แก้โรคตาเจ็บทุกชนิด
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 84
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 78-79
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 48
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 169
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 64-65
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 971
ว่านท้าวพระกาฬ
ว่านท้าวพระกาฬ Gloriosa superb L.
ลักษณะ หัวเล็กแตกออกแยกกันเหมือนตีนนก เนื้อในหัวสีเหลืองเหมือนขมิ้น ใบเขียวคล้ายใบขมิ้น แต่เล็กมาก ต้นและก้านสีแดง
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใช้หัวตำผสมสุราทาฝีกาฬทุกชนิด และฝีมะคำร้อย แก้ฝีตะมอย ว่านชนิดนี้ห้ามกินเด็ดขาด ถ้ากินเข้าไปเป็นอันตรายถึงตาย เพราะทำให้ประสาทและกล้ามเนื้อหยุดทำหน้าที่
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็นต้นเดียวกับ ว่านก้ามปู (ดองดึง) ชนิดต้นแดง
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 82-83
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 168
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 972
ว่านท้าวชมพูหนังแห้ง
ว่านท้าวชมพูหนังแห้ง Cayratia sp.
ลักษณะ ต้น ใบ ขึ้นเป็นเถาว์วัลย์ เถาว์และใบสีแดง คล้ายเถาว์คันแดง แต่สีเข้มกว่ามาก ขึ้นเกาะกับต้นไม้อื่นๆ เหมือนว่านพระฉิม หัวเหมือนมันนก
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ใช้กินหรือนำติดตัว มีอานุภาพทางคงกระพันชาตรี ใช้ได้ทั้งหัว ต้น ใบ มีอานุภาพเหมือนกัน บดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง ทำเป็นนวด นำติดตัวไปด้วยคงกระพันชาตรี
หมายเหตุ ว่านนี้บางคนเรียกว่า เถาวัลย์แดง มีทั้งชนิดมีขน และไม่มีขน
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 83
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 112
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 61
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 167
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 970